มาทำความรู้จัก"กระเบื้อง"แต่ละประเภทก่อนเลือกซื้อจะได้ถูกประเภท ถูกใจ สวยงามตามท้องเรื่อง><
1.กระเบื้องเซรามิก (Ceramic Tile)
เป็นกระเบื้องที่มีทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบ หรือจะบอกว่า กระเบื้องเซรามิคก็คือกระเบื้องดินเผา หรือบางคนก็จะเรียกว่ากระเบื้องเคลือบก็ได้ ที่สำคัญกระเบื้องเซรามิกยังมีหลายสี
คุณสมบัติ: จะมีความแข็งแรง ทนทาน ดูแลรักษาง่าย แต่ไม่ทนต่อรอยขีดข่วน พื้นผิวแข็งแต่ลื่นเมื่อเปียกน้ำ วัสดุประเภทนี้มีให้เลือกหลายหลายขนาด สี และรูปทรง สามารถปูบนพื้นคอนกรีตหรือพื้นไม้ได้โดยใช้กาวติดกระเบื้องยึด ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ปูพื้นในห้องครัว และห้องน้ำเป็นต้น
ข้อเสียของกระเบื้องเซรามิก : แบบเคลือบเวลาเปียกน้ำมักมีความลื่นและดูดซึมน้ำสูง และถ้าหากรื้อถอนแล้วไม่สามารถนำมาปูใหม่ไม่ได้ แถมยังไม่เหมาะกับพื้นที่ๆต้องรับน้ำหนักเยอะ Tip : ถ้านำมาใช้ในห้องน้ำแนะนำให้เลือกด้าน เวลาโดนน้ำหรือสบู่จะได้ไม่ลื่นป้องกันไว้ก่อนดีที่สุด
2.กระเบื้องเกลซพอร์ซเลนด์ (Glazed Porcelain Tile)
กระเบื้องเกลซพอร์ซเลนด์ ถือว่าเป็นกระเบื้องเคลือบชนืดหนึ่ง มีส่วนประกอบของ ดินขาว ผ่านกระบวนการผสมกับแร่อื่นๆ เช่น หินเขี้ยว หนุมาน ดินดำ ไชน่าสโตน และแร่หินฟันม้า เป็นต้น เมื่อนำไปเผาในอุณหภูมิประมาณ 1300 องศา ก็จะได้เนื้อที่สามารถนำไปขึ้นรูปได้ทั้งกระเบื้องปูพื้น งานเซรามิก อื่นๆได้
คุณสมบัติ: ลักษณะเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั้งแผ่น มีความแข็งแรง รองรับน้ำหนักได้ดี ทนต่อการขูดขีด และยังมีค่าการดูดซึมน้ำต่ำ เพียง 0.05% หรือไม่มีการดูดซึมน้ำเลยก็ว่าได้ เหมาะสำหรับการติดตั้งทุกพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกของอาคารที่ผู้คนเดินผ่านบ่อยๆ อาทิ พื้นห้างสรรพสินค้า พื้นโถงโรงแรม เป็นต้น หรือจะใช้ในการปูผนังก็ได้เช่นกัน
3.กระเบื้อง แกรนิตโต้ (Granito Tile)
แกรนิตโต้ หรือ กระเบื้องแกรนิตโต้ คือกระเบื้องเซรามิคชนิดหนึ่งที่เป็นหินแกรนิตเทียม มีส่วนผสมของผงหินแกรนิต แล้วนำไปผ่านการเผาด้วยความร้อนสูง แข็งแรงเทียบเท่าหินแกรนิต และถือได้ว่าแข็งแกร่งกว่ากระเบื้องเซรามิคชนิดอื่นๆ
ลักษณะพื้นผิวมันวาว แกรนิโต้เป็นกระเบื้องที่ไม่มีการเคลือบสี มีเนื้อกระเบื้องเป็นเนื้อเดียวกันทั้งแผ่น ดังนั้นเมื่อถูกกระเทาะจะ สังเกตได้ว่าเนื้อที่ผิวหน้ากับเนื้อด้านในจะเป็นสีเดียวกัน
คุณสมบัติ: แข็งแรง และทนทานต่อการขีดข่วน เปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำต่ำมาก เป็นกระเบื้องที่มีคุณสมบัติการรับน้ำหนักได้สูงเหมือนกับ กระเบื้องเกลซพอร์ซเลนด์ เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ที่มีการสัญจรทั่วไป
4.กระเบื้องดินเผา (Earthenware Tile)
กระเบื้องดินเผา ถือว่าเป็นกระเบื้องที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่โบราณจนถึงในปัจจุบัน ใช้ทั้งปูหลังคาและปูพื้นบ้าน ให้ความ Classic และให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ
คุณสมบัติ: กระเบื้องดินเผามีความใกล้เคียงดินมากกว่าหิน ซึ่งอาจแตกหัก ผุกร่อนได้ง่าย และผิวค่อนข้างด้าน แต่ข้อดีคือราคาไม่แพงแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเกรดของกระเบื้องแต่ละแบบด้วย แถมไม่ลื่นถ้าไม่มีตะไคร้น้ำเกาะ ระบายความชื้นแลความร้อนได้ดี ทำให้อมความร้อนไว้ไม่นาน
ข้อเสียของกระเบื้องดินเผา : ดูดซับความชื้นได้ดีเกินไปถ้าช่างปูกระเบื้องไม่ดี ไม่เว้นระยะห่างต่อแผ่นไม่มากพออาจทำให้กระเบื้องบวมและแตกได้ มีความแข็งแรงน้อยมากเมื่อเทียบกับกระเบื้องชนิดอื่นๆ ทำความสะอาดยากและสกปรกง่ายจึงไม่เหมาะกับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาทำความสะอาดเท่าไหร่
5.กระเบื้องโมเสค (Mosaic Tile)
กระเบื้องโมเสค เป็นกระเบื้องขนาดเล็ก ที่ถูกออกแบบมาใช้งานหลายรูปแบบ รวมไปถึงใช้ในงานตกแต่งอีกด้วย บริเวณที่ใช้งานโมเสคมีหลายบริเวณ มีทั้ง ผนังห้องน้ำ ห้องครัว และสระว่ายน้ำเป็นต้น แต่ถ้าติดในครัวหากน้ำมันไปโดนย่อมมีคราบมันอย่าลืม
คุณสมบัติ: เนื้อเป็นแก้วใส ไม่เหมือนพลาสติก มีความแข็งแรง มันวาว ทนทานและสีไม่ตก ทำความสะอาดง่ายเนื้อสีของกระเบื้องสดใส ดูดซึมน้ำต่ำ ไม่นิยมนำมาปูพื้นบ้านเพราะแผ่นเล็กและมีราคาสูงนั้นเอง
ข้อเสียของกระเบื้องแก้ว : ความแข็งแรงทนทานน้อยกระเบื้องทั่วไปอย่างกระเบื้องเซรามิกจึงไม่เหมาะกับการปูพื้นบ้านหรือทางเดินหรือที่ๆต้องรับน้ำหนักเยอะเพราะอาจแตกหักได้ง่าย ที่สำคัญทำความสะอาดยากโดยเฉพาะบริเวณร่องยาแนวที่เยอะทุกตรางนิ้ว
6.กระเบื้องแก้ว (Glass Tile)
กระเบื้องแก้ว จะมีความมันวาว เนื้อโปร่งแสง มีทั้งแบบแผ่นและแบบโมเสคเม็ดเล็ก โดยส่วนใหญ่ที่ได้รับความนิยมคือกระเบื้องแก้วที่เป็นแบบโมเสค มีลักษณะคล้ายกับกระเบื้องโมเสคแต่เคลือบแก้วทับลวดลายลงไปทำเกิดความมันวาว สีสันสดใส
คุณสมบัติ: กระเบื้องแก้วมีอัตราการดูดซับความชื่นต่ำ เหมาะกับการติดผนัง ช่วยให้พื้นผนังห้องดูสวยงามมากยิ่งขึ้น นิยมใช้ปูในพื้นที่แคบๆ ไม่นิยมปูในพื้นที่กว้างๆ เพราะกระเบื้องชิ้นเล็กปูยากและราคาค่อนข้างสูง
ข้อเสียของกระเบื้องแก้ว : เหมือนกับกระเบื้องโมเสคที่กล่าวมาในข้างต้นเลยที่บอกว่าไม่ควรปูพื้นเนื้องจากรับน้ำหนักและแรงกระแทกได้น้อย